เศรษฐศาสตร์มหภาค


เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจหน่วยใหญ่
หรือส่วนรวมของทั้งประเทศ รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจระดับชาติหรือระดับโลก เช่น
รายได้ประชาชาติ GDP
GNP การเงินการธนาคาร
การค้าระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ การออมและการลงทุน แรงงานและการว่างงาน
ปริมาณเงิน เป็นต้น โดยมีแนวคิดในการวิเคราะห์มากมาย แต่หลักการเบื้องต้นง่ายๆ คือ
อุปสงค์ (Demand)
และอุปทาน (Supply) เช่นกัน
ซึ่งการศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคจะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจถึงปรากฏการณ์ต่างๆ
ทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้น และสามารถนำเอาแนวคิดและทฤษฎีด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคไปใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบการวิเคราะห์ตัดสินใจบริหารงานด้านต่างๆ
ทั้งภาคเอกชนและรัฐบาลเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายเศรษฐกิจในการการสร้างความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ
(economic
growth) การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
(economic
stabilization) และการกระจายความเป็นธรรม
(distribution
function) เช่น.....
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/396659
- รัฐบาลออกแถลงการณ์ว่า เศรษฐกิจในปีพ.ศ. ๒๕๕๑ ขยายตัวร้อยละ ๕ ต่อปี
- การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
- การศึกษาถึงผลกระทบของการก่อหนี้สาธารณะที่มีต่อภาระภาษีของประชาชน
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/396659
ความเติบโตทางเศรษฐกิจ
เศรษฐศาสตร์ด้านความเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นมุ่งเน้นศึกษาปัจจัยที่อธิบายความเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือคือการเพิ่มขึ้นของผลผลิตต่อหัวของประเทศในระยะยาว
ปัจจัยดังกล่าวก็ยังใช้ในการอธิบายความแตกต่างระหว่างระดับผลผลิตต่อหัวระหว่างประเทศอีกด้วย
โดยเฉพาะว่าทำไมบางประเทศเติบโตได้รวดเร็วกว่าประเทศอื่น ๆ
หรือว่าบางกลุ่มประเทศมีแนวโน้มเติบโตเท่าทันกันหรือไม่ เป็นต้น
ปัจจัยที่มีการวิจัยศึกษาค่อนข้างมากก็ได้แก่
อัตราการลงทุน,
การเติบโตของประชากร
และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ทั้งหมดนี้มีปรากฏทั้งในรูปทฤษฎีและผลการศึกษาเชิงประจักษ์
ทั้งในแบบจำลองคลาสสิกใหม่, แบบจำลองการเติบโตภายใน (endogeneous growth) และในการบันทึกบัญชีการเติบโต
(growth accounting)
วัฏจักรธุรกิจ
ในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจราวทศวรรษ 1930 นี้เองที่เป็นจุดกำเนิดให้กับเศรษฐศาสตร์มหภาคที่แตกแขนงออกไปเป็นศาสตร์เฉพาะทาง
ระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่นั้น จอห์น
เมย์นาร์ด เคนส์ได้แต่งหนังสือที่ชื่อว่า ทฤษฎีทั่วไปของการจ้างงาน, ดอกเบี้ย
และเงินตรา โดยวางรากฐานทฤษฎีหลัก
ๆ ของเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ไว้
แต่ต่อมาก็มีทฤษฎีและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มหภาคที่ถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์ข้อผิดพลาดในแบบจำลองดังกล่าว
เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกใหม่ใช้สมมติฐานว่าระดับราคาและค่าแรงนั้นปรับตัวโดยอัตโนมัติเพื่อเข้าสู่ภาวะการจ้างงานสมบูรณ์
ขณะที่เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ใหม่นั้นมองว่าการจ้างงานสมบูรณ์นั้นมีได้แต่ในระยะยาว
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีนโยบายรัฐและธนาคารกลางแทรกแซงเพราะว่า "ระยะยาว"
ที่ว่าอาจจะยาวนานเกินไป
เศรษฐศาสตร์จุลภาค
๑. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจรายย่อยๆ ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และเจ้าของปัจจัยการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาของสินค้าและปัจจัยแต่ละชนิดในตลาดต่างๆ ตลอดจนการกระจายรายได้ กล่าวโดยสรุปคือเป็นเรื่องของธุรกิจเดียว ตลาดเดียว ซึ่งสามารถใช้หลักอุปสงค์ (Demand) คือการมองทางด้านผู้ซื้อ และอุปทาน (Supply) ซึ่งเป็นการมองทางด้านผู้ขาย โดยในการวิเคราะห์สามารถใช้กลไกราคาทำหน้าที่ในตลาด เช่น
เศรษฐศาสตร์จุลภาค
๑. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจรายย่อยๆ ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และเจ้าของปัจจัยการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาของสินค้าและปัจจัยแต่ละชนิดในตลาดต่างๆ ตลอดจนการกระจายรายได้ กล่าวโดยสรุปคือเป็นเรื่องของธุรกิจเดียว ตลาดเดียว ซึ่งสามารถใช้หลักอุปสงค์ (Demand) คือการมองทางด้านผู้ซื้อ และอุปทาน (Supply) ซึ่งเป็นการมองทางด้านผู้ขาย โดยในการวิเคราะห์สามารถใช้กลไกราคาทำหน้าที่ในตลาด เช่น
- การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการบริโภคสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
- การศึกษาว่าการโฆษณามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนมากน้อยเพียงใด
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/396659
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น